• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
ประวัติความเป็นมา
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 1 ตำบล จำนวน 5 หมู่บ้าน และมีจำนวนประชากร ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร (คน)

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านทุ่งเซียด

498

564

542

1,106

2

บ้านหาดผก

387

377

382

759

3

บ้านท่าโรงช้าง

1,772

975

1,027

2,002

4

บ้านหัวไทร

502

409

435

844

5

บ้านควนไทร

766

524

563

1,087

รวม

3,925

2,849

2,949

5,798


ที่มา : สำนักงานทะเบียนราษฎร ที่ว่าการอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2567
    องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง เดิมเป็นอำเภอท่าโรงช้าง ยุบรวมเป็นอำเภอท่าข้ามเมื่อปี พ.ศ. 2473 และเปลี่ยนชื่อ เป็นอำเภอพุนพิน ในปี พ.ศ.2481 สภาพชุมชนตำบลท่าโรงช้างดั้งเดิม เป็นชุมชนริมแม่น้ำ คมนาคมทางเรือ อาชีพของประชาชนทำนา ทำไม้ซุง ทำสวนผลไม้ ค้าขาย คล้องช้าง ผู้ที่มีช้างหลายเชือกแสดงออกถึง ผู้มีฐานะทางสังคม บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอท่าโรงช้าง โรงพักตำรวจ และวัดท่าโรงช้าง ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 3 และ 4 ในปัจจุบัน มีโรงฝึกช้างและท่าลงช้างสำหรับอาบน้ำ และชักลากไม้ซุงลงแม่น้ำพุมดวงเพื่อนำไปขาย สันนิษฐานว่าคำว่าท่าโรงช้าง จะเพี้ยนมาจากคำว่า "ท่าลงช้าง" ก็ได้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด

    เรื่องเล่าประวัติตำบลท่าโรงช้าง บุคคลที่สำคัญที่ผู้คนกล่าวถึง คือ นายอำเภอ เคลื่อน มณีนิล และขุนช้าง ชื่อเดิม ชื่น บุญชิต สำหรับวัดท่าโรงช้าง มีบันทึกว่า พื้นที่วัดถูกน้ำกัดเซาะ จนเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อลอย จากวัดท่าโรงช้าง มาเป็นเจ้าอาวาส วัดตะเคียนทอง และรื้อวัด ท่าโรงช้าง นำไม้บางส่วน ไปสร้างวัดตะเคียนทอง และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดนาคาวาส ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านหัวไทร ในปัจจุบัน
ปรัชญาองค์กร

สร้างองค์ความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Body of Knowledge for change)

วิสัยทัศน์

องค์กรชั้นนำที่สร้างผู้นำและองค์ความรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศ

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1. ยุทธศาสตร์การสรรหา คัดเลือก และพัฒนาบุคลากรให้มีปีกความสามารถสูง สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ
2. ยุทธศาสตร์การระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารงานต่างๆ ขององคืกรให้เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิจไปสู่ความเป็นเลิศ
4. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรทั้งภายในและภายนอก
5. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างแบรนด์ (Brand) ขององค์กร
6. ยุทธศาสตร์การรักษาความเป็นเลิศการบริการทีี่มีความโดดเด่นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
7. ยุทธศาสตร์กับการเสริมสร้างบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม
8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความแข็งแรงของทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรให้มีความรู้อย่างต่อเนื่อง